รายละเอียด : |
พระเครื่องหลวงพ่อทวด " รุ่น ๑ " หลังเตารีด เนื้อนวโลหะ
มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องและกล่องเดิม
จัดสร้างเป็นครั้งแรกของวัดช้าง โดยพระเถระวัดช้างให้ จ. ปัตตานี
ปลุกเสก
พระเครื่องดังแห่งปี มหาพิธีปลุกเสกชุมนุม ๑๐๘ พ่อท่านภาคใต้ , ๑๐๘
ท่านเจ้าวัดเมืองปัตตานี , ๑๐๘ พระเถระนครนายก ที่วัดตอนนี้องค์ละ
2,500.- บาทครับ (เบอร์โทรวัดช้าง
037-381-475)ชมภาพพิธีการปลุกเสกได้ที่ http://www.wat-chang.com/webboard/index.php?topic=56.0
มูลเหตุการสร้างพระของวัดช้างรุ่นนี้ ถือกำเหนิดจากการได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก (จร.ชอ.) ในราชทินนามที่ พระครูโสภณนาคกิจ
จึงได้ดำริจัดสร้างรูปเหมือนจำลององค์หลวงพ่อทวด
ขนาดเท่าองค์จริงเพื่อประดิษฐานในวิหารบูรพาจารย์
เพื่อเป็นอนุสรณ์การได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในครั้งนี้ ณ วัดช้าง
อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก การเททองหล่อองค์หลวงพ่อทวด
ประกอบพิธีตามมงคลฤกษ์ได้ ดิถีอมฤคโชค " จันทร์ตรี "
การเททองเหลือเนื้อโลหะก้นเบ้าจำนวนมาก
วัดช้างจึงได้นำโลหะที่เหลือมาหลอมรีดปั๊มเป็นองค์หลวงพ่อทวด
และประกอบพิธีปลุกเสกใน ดิถีอมฤคโชค " เสาร์ห้า " เป็นฤกษ์ดีในรอบ
๑๐๐ ปี คือวันที่ ๒๐ มีนาคม รวม ๔ วัน ๓ คืน
นับเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในการสร้างหลวงพ่อทวดฤกษ์ เสาร์ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๓
เนื้อองค์พระ เป็นเนื้อนวะโลหะสูตรโบราณของวัดช่าง ที่ได้รับตำรา
(เล่มดำ) จากท่านอาจารย์นิรันดร์ (หนู) แดงวิจิตร
ซึ่งเป็นมรดกทางประเพณีการสร้างจักรพรรดิแห่งพระหล่อโลหะของสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม
โดยการเททองหล่อหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่นั้น แต่แรกท่านพระครูโสภณนาคกิจ
หรือพระอาจารย์เดช ได้นำมวลสารแร่ธาตุก้านชนวนพระกริ่งรุ่นเก่า ๆ
ของวัดช้าง ที่ได้มาจากวัดสุทัศน์ ผสมกับแผ่นโลหะพระยันต์ ๑๐๘ นะปะถะมัง
๑๔ นะ พระรัตนสูตร พระมงคลสูตร
โลหะก้นเบ้าจากการสร้างพระกริ่งในอดีต
มาหล่อหลอมเนื้อเหลือจากการเททอง ได้นำมาผสมกับทองคำแท่งเป็นโลหะ ๙
ชนิด ปั๊มเป็นองค์พระหลวงพ่อทวด รุ่น ๑ ของวัดช้าง
ผิวองค์พระเมื่อแรกปั๊มแบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ ๑. ชนิดผิวเดิมธรรมชาติ
และ ๒. ชนิดผิวปัดลูกผ้า
โดยเนื้อในขององค์พระจะเป็นสีส้มอมชมพูเข้ม
ซึ่งสร้างกระแสความสนใจให้พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเป็นรุ่น ๑ ของวัดช้าง ที่มีพระคณาจารย์พ่อท่านทางภาคใต้
พระพิธีจากวัดช้างให้ และพระคณาจารย์จังหวัดนครนายก กว่า 360 รูป
มาทำการปลุกเสกให้อย่างยิ่งใหญ่
พิมพ์ทรงองค์พระ หลวงพ่อทวด รุ่น ๑ ช่างผู้แกะพิมพ์คือช่างนิคม
ด้านหน้าองค์พระประทับบัลลังก์บัวแก้ว ลักษณะของบัวแบ่งเป็นด้านบน
๗ กลีบหงาย ด้านล่าง ๗ กลีบคว่ำ สันกลีบบัวปรากฏเ-กลาง
สำหรับพิมพ์เดิม ๆ ผิวธรรมชาติจะยังคงเ-ชัดเจน
ส่วนพิมพ์ผิวขัดปัดลูกผ้าอาจจะสึกเพราะการขัดเงาของช่าง จึงทำให้เ-กลางกลีบบัวหาย
องค์พระพิมพ์หัวโตคล้ายพิมพ์หลังตัวหนังสือในอดีต
ต่างตรงด้านหน้าเป็นทรงเตารีด และพิเศษมีเลข ๑ หลวงพ่อทวดรุ่น ๑
วัดช้าง นับเป็นปฏิมากรรมการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อทวดมิติใหม่ที่ไม่ทิ้งความนิยมจากอดีต
ซึ่งยังคงรูปลักษณ์ความศัทราแห่งบารมีเทพเจ้าเหยียบน้ำทะเลจืดไว้ดังเดิม
โดยพิมพ์เป็นเอกลักษณ์พิมพ์เดียว แต่ถอดพิมพ์ได้ ๘ บล็อก
ดังปรากฏตัวเลขที่จะระบุไว้กับกล่องที่จะบรรจุพระ
พิธีพระเถระ "พ่อท่าน" เมืองใต้ ในการปลุกเสกหลวงพ่อทวด
มีขึ้นในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันจันที์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕
ปีขาล ดดยได้ฏีกาอาราธนาพระเถระ พ่อท่านจาก ๑๔
จังหวัดภาคใต้ขึ้นมาประกอบพิธีกรรมอย่างยิ่งใหญ่
ซึ่งมีพ่อท่านประสูติ วัดในเตา จ. ตรัง
เป็นผู้ระดมและคัดเลือกรายนามพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมแก่กล้า
เพื่อรวมพลังปลุกเสกหลวงพ่อทวด ณ วัดช้าง อ. บ้านนา จ. นครนายก
ที่สำคัญพ่อท่านเมืองใต้
มีพระเถระผู้ทรงวิทยาคุณมารวมพลังปลุกเสกมากเป็นครั้งประวัติการณ์
กว่า ๑๐๘ รูป โดยพิธีมังคลาพิเษกหลวงพ่อทวดมีขึ้นตั้งแต่วันที่ ๒๐
เป็นพิธีใหญ่จุดเทียนชัย " เสาร์ ๕ " ถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ รวม
๔ วัน ๓ คืน
พิธีเถระ "ท่านเจ้าวัด" แห่งเมืองปัตตานี
พิธีนี้เป็นการอันเชิญดวงวิญญาณองค์หลวงพ่อทวด
ในการจัดสมโภชรูปเหมือน องค์จำลอง
ในการนำของท่านเจ้าคุณพระราชวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
และพระเถระชั้นผู้ใหญ่แห่งเมือง มาทำพิธีเบิกเนตรหลวงพ่อทวด
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ในพิธีนี้ท่านเจ้าคุณองค์รอง
"วัดช้างให้" ปัตตานี ได้นำพลเจ้าอาวาส ฯ
หรือที่เรียกว่าท่านเจ้าวัด กว่า ๑๐๘ รูป
มาเจริญพระพุทธมนต์ครบสูตร
ต่อจากนั้นได้บริกรรมอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่อง รุ่น ๑
แห่งวัดช้าง เพื่อให้เป็นตำนานความศักดิ์สิทธิ์การพิธีมังคลาพิเษกหลวงพ่อทวด
จากพระเถระศาสนทายาทของท่านจากเมืองปัตตานี
ให้เป็นมหาพิธีแบบแผนในการสร้างพระหลวงพ่อทวดเมืองใต้ ให้ชาวไทยที่ศัทราได้อาราธนาขึ้นคอได้อบอุ่นใจไว้ป้องกันภัยและอุปัทวเหตุต่าง
ๆ ดังความเชื่อของคำโบราณที่ล่ำลือกันมาว่า " ผู้บูชาไม่ตายโหง "
ชื่อบล็อกหลวงพ่อทวด รุ่น ๑ พระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้
ช่างได้นำต้นพิมพ์ถอดแบบได้ ๘ บล็อก
สำหรับบล็อกต้นพิมพ์ได้แตกระหว่างการถอดพิมพ์
จึงทำการปั๊มได้ไม่กี่องค์ มีนามว่า "บล็อกบัวแตก"
ให้ชาวเมืองปัตตานีได้บูชาท่านละ ๑ องค์ เป็นการเฉพาะ
สำหรับบล็อกที่ ๑ ถึง บล็อกที่ ๗
ซึ่งทางวัดได้เตรียมออกให้ชาวไทยทั่วไปได้เช่าบูชา มี ๗ บล็อก
แต่ละบล็อกมีประวัติที่มาของชื่อแตกต่างกันออกไป ดังนี้
บล็อกที่ ๑ ได้ปั๊มองค์พระเลข ๑ ใหญ่ เนื้อเดิมผิวธรรมชาติ
ได้จัดแบ่ง ๕๐ องค์ ถวายท่านเจ้าคณะใหญ่หนใต้
องค์ประธานจุดเทียนชัย จึงขนานนามว่า "บล็อกเจ้าคณะใหญ่"
บล็อกที่ ๒ ได้ปั๊มองค์พระเลข ๑ ใหญ่ ผิวเดิม ๆ แบ่งออก ๑๐๐ องค์
เพื่อถวายท่านเจ้าคณะจังหวัดปัตตานีและท่านเจ้าคณะจังหวัดนครนายก
ท่านละ ๕๐ องค์ จึงขนานนามว่า "บล็อก๒จังหวัด"
บล็อกที่ ๓ ได้ปั๊มองค์พระเลข ๑ ใหญ่
องค์พระผิวธรรมชาติจัดถวายพระเถระ " พ่อท่าน" จาก ๑๔ จังหวัดภาคใต้
จึงขนานนามว่า "บล็อกพ่อท่าน"
บล็อกที่ ๔ ปั๊มเลข ๑ เล็ก ผิวพระขัดเงา แบ่งนำไป ๑๕๐ องค์
ถวายพระเถระท่านเจ้าวัดจากเมืองปัตตานี จึงขนานนามว่า
"บล็อกท่านเจ้าวัด"
บล็อกที่ ๕ ปั๊มเลข ๑ เล็ก ผิวพระขัดเงาสีนาก
บล็อกนี้ถวายพระพิธีธรรมจาก ๑๕ สำนัก จึงขนานนามว่า "บล็อกพระพิธี"
บล็อกที่ ๖ ปั๊มเลข ๑ เล็ก ผิวพระขัดเงา แบ่ง ๕๐ องค์
ถวายเจ้าอาวาสวัดพะโคะ จึงขนานนามว่า "บล็อกพะโคะ"
บล็อกที่ ๗ บล็อกสุดท้าย ปั๊มเลข ๑ เล็ก ผิวพระสีนากสุกใส
ถวายเป็นที่ระลึกแด่ท่านเจ้าคุณองค์รองฯ
และพระพิธีธรรมจากวัดช้างให้ จ. ปัตตานี
มาช่วยอันเชิญพระคาถาตลอดงาน ๓ วัน ๓ คืน ขนานนามเป็นอนุสรณ์ว่า
"บล็อกช้างให้"
โดยแต่ละบล็อกจะมีชื่อเป็นอนุสรณ์การมังคลาภิเษกแต่ละพิธี
ยกเว้นบล็อกบัวแตก "ต้นพิมพ์" ๒๕๐ องค์ จะตอกโค๊ด "ปัตตานี"
และเลขลำดับที่องค์พระ ๑ ถึง ๒๕๐ โดยเนื้อนวโลหะมีขนาดหนาเป็นพิเศษกว่าทุก
ๆ พิมพ์ มอบให้เฉพาะชาวจังหวัดปัตตานีได้บูชาแบ่งให้ท่านละ ๑ องค์
www.new-amulet.com
แพ็คกล่องกระดาษไดคัท พร้อมวัสดุกันกระแทกอย่างดี ส่ง EMS ฟรี
ทุกรายการครับ |